สำหรับ PPC นั้นเป็นการโฆษณาที่เราต้องจ่ายเงินตามจำนวนคลิกที่กดเข้ามายังเว็บไซต์ การโฆษณาลักษณะนี้ บางตำราใช้คำว่า SEM แทน PPC ไปเลยก็มี ดังนั้นสองคำนี้สามารถใช้ทดแทนกันได้
ข้อดีของ SEM คือ โฆษณาจะแสดงผลต่อกลุ่มเป้าหมายได้ทันที สามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายได้เฉพาะเจาะจง ลงโฆษณาด้วย Keyword จำนวนมากและปรับเปลี่ยน Keyword ได้ตลอดเวลา รวมถึงไม่จำเป็นต้องปรับปรุงเว็บไซต์มากเท่า SEO อีกด้วย จึงเหมาะกับการทำโปรโมชันและเคมเปญระยะสั้น
ทีนี้คุณคงเข้าใจกันมากขึ้นแล้วว่า SEO และ SEM คืออะไร แต่หากเทียบข้อแตกต่างของการทำการตลาดทั้ง 2 แบบสามารถสรุปได้ดังนี้
|
SEO | SEM |
เป้าหมายหลัก |
Brand Awareness (Organic Traffic อันดับ, ฯลฯ) | Conversion (ยอดสั่งซื้อ ยอดจอง จำนวนคนสมัครสมาชิก ฯลฯ) |
การเข้าถึงเว็บไซต์ |
ไม่เสียค่าใช้จ่ายเมื่อมีคนเข้าเว็บไซต์ (Organic Traffic) |
เสียค่าใช้จ่ายทุกครั้งที่คนเข้าเว็บไซต์ (Paid Traffic) |
ระยะเวลาแสดงผลลัพธ์ |
ระยะเวลาแสดงผลนาน (แม้จะหยุดทำ SEO แล้วก็ยังแสดงผลอยู่) | ระยะเวลาแสดงผลขึ้นอยู่กับเงินที่ลงโฆษณา |
รูปแบบการตลาดที่เหมาสม |
Always-on / Content Marketing / เคมเปญหรือโปรโมชั่นที่มีระยะเวลานาน | เคมเปญหรือโปรโมชั่นที่มีระยะเวลาสั้น |
การแสดงผลบนเว็บไซต์ |
แสดงผลทุกครั้งที่ค้นหาด้วย Keyword ที่เกี่ยวข้อง | แสดงผลเฉพาะ Keyword และกลุ่มเป้าหมายที่กำหนด |
จากตารางจะเห็นได้ว่า SEO และ SEM ตอบโจทย์การทำธุรกิจในแบบที่แตกต่างกัน ในฐานะนักการตลาดจึงต้องเลือกใช้เครื่องมือทั้งสองให้เหมาะสมตามเป้าหมายที่วางไว้ แต่หากเราสามารถทำการตลาดทั้ง 2 รูปแบบนี้ไปพร้อมกันและมีกลยุทธ์ที่ถูกต้อง ก็จะยิ่งทำให้เราได้ผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้นด้วยเช่นกัน
คุณอาจจะสงสัยว่า “แล้วธุรกิจของเราควรทำ SEO หรือไม่?” เราได้สรุปตัวอย่างรูปแบบธุรกิจที่ควรทำ SEO มาให้ดังนี้
1. ธุรกิจที่มีการซื้อขายเกิดขึ้นผ่านทางออนไลน์ เช่น ร้านค้าออนไลน์, Marketplace อย่าง Lazada Shopee ฯลฯ
2. ธุรกิจหรือองค์กรที่ต้องการสร้างความน่าเชื่อถือ เช่น ธนาคาร, ธุรกิจพลังงาน, ธุรกิจประกันภัย, ธุรกิจเกี่ยวกับสุขภาพและความงาม ฯลฯ
3. ธุรกิจที่สินค้ามีมูลค่าสูงและผู้บริโภคจำเป็นต้องหาข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อประกอบการตัดสินใจ เช่น ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์, ธุรกิจอุตสาหกรรมยานยนต์
4. ธุรกิจขนาดเล็ก-กลาง ที่ต้องการตัดปัญหาพ่อค้าคนกลาง เช่น โรงงานรับผลิตสินค้า, ร้านค้าจำหน่ายสินค้าท้องถิ่น
5. ธุรกิจที่เพิ่งเปิดตัวใหม่หรือต้องการสร้าง Brand Awareness
นี่เป็นเพียงตัวอย่างธุรกิจเท่านั้น นอกเหนือจากนี้ ธุรกิจรูปแบบอื่น ๆ ก็สามารถทำ SEO ได้เช่นกัน เพียงแค่คุณมีเว็บไซต์และเป้าหมายที่ชัดเจน SEO ก็พร้อมตอบโจทย์ธุรกิจของคุณได้เสมอ
1.Google Keyword Planner
Keyword Planner หนึ่งในฟังก์ชั่นของ Google Adwords เป็นเครื่องมือสำหรับใช้ในการหา Keyword สำหรับนำใช้บนเว็บไซต์ โดยเราสามารถเช็กปริมาณการค้นหา (Search Volume) ของ Keyword เหล่านั้นได้ว่าจำนวนมากน้อยแค่ไหน
2.Google Search Console
Google Search Console เป็นเครื่องมือพื้นฐานสำหรับการทำเว็บไซต์และ SEO เพราะสามารถตรวจสอบเว็บไซต์ได้ครอบคลุมทั้งด้านเทคนิค Organic Traffic อันดับเว็บไซต์ ฯลฯ
3.เครื่องมือด้าน SEO อื่น ๆ
มีอีกหลายส่วนที่เครื่องมือพื้นฐานของ Google ไม่สามารถทำได้หรือทำได้ไม่ดีพอ เช่น การเปรียบเทียบ Keyword ของเราและคู่แข่ง การวิเคราะห์ Backlink จำนวนมาก การเช็กอันดับรายวัน ฯลฯ เครื่องมือด้าน SEO โดยเฉพาะจึงสำคัญไม่แพ้กัน ตัวอย่างเครื่องมือที่นิยมใช้ได้แก่ Ahrefs, SEMRush, Moz, Majestic ฯลฯ
นอกจากเครื่องมือเหล่านี้ ยังมีเครื่องมืออีกมากมายที่ช่วยรวบรวมข้อมูลในการทำ SEO แต่เครื่องมือเหล่านี้เป็นเพียงตัวช่วยเท่านั้น เพราะข้อมูลจำนวนมากเหล่านี้จะเกิดประโยชน์สูงสุด ก็ต่อเมื่อเราสามารถวิเคราะห์และแก้ไขได้อย่างตรงจุดด้วย
ประสบการณ์ของลูกค้าส่งผลต่อทัศนคติที่มีต่อแบรนด์เสมอ การค้นหาบน Search Engine และการใช้งานเว็บไซต์ก็เช่นกัน หากแบรนด์ของคุณทำธุรกิจบนเว็บไซต์ การทำ SEO และ SEM ก็เป็นกลยุทธ์หนึ่งที่ตอบโจทย์ได้ดีที่สุด และพร้อมที่จะทำให้ธุรกิจของคุณเติบโตและเป็นที่จดจำในโลกดิจิตอล